วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล

ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช(ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1
นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.) มีเกณฑ์การเทียบดังนี้ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ.พ.ศ. - ๒๓๒๔ = ร.ศ.จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ.พ.ศ. - ๑๑๘๑ = จ.ศ.ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ.พ.ศ. - ๖๒๑ = ม.ศ.หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์.
1.การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง
2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทยสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน
๑. ประวัติศาสตร์สากลเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2๒. ประวัติศาสตร์ไทยเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศอยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ

วิธีการทางประวัติศาสตร์


1. กำหนดหัวข้อ (อยากศึกษา อยากรู้เรื่องอะไร)

2.รวบรวมหลักฐานและศึกษาเอกสารตำราที่เกี่ยวข้องอ้างอิงได้
3. ประเมินค่าหลักฐาน (ว่าจริง/เท็จ , เชื่อถือได้หรือไม่ )หลักฐานทางประวัติศาสตร์

1. แบบเป็นลายลักษณ์อักษร

เช่น จดหมายเหตุ จารึก ตำนาน พงศาวดาร

2. แบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เช่น โครงกระดูก โบราณวัตถุ


ลำดับความสำคัญของประวัติศาสตร์

1. หลักฐานชั้นต้น (ปฐมภูมิ)

= หลักฐานที่เกิดขึ้น สัมพันธ์กับเหตุการณ์โดยตรง
2. หลักฐานชั้นรอง (ทุติยภูมิ)

= หลักฐานที่เกิดจากการบันทึกจากคำบอกเล่า หรือเกิดจากการประเมินค่า ตีความจากหลักฐานชั้นต้น
เกิดขั้นหลังเหตุการณ์นั้นๆ


4. ตีค่า (แปลความหมายต้องใช้ความรู้ความสามารถหลักการ)

5.วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุป
(บอกความสัมพันธ์ เชื่อมโยงความสำคัญ)

บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพัฒนาชาติไทย


สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

1. การป้องกันและรักษาเอกราชของชาติ
นับตั้งแต่อดีตพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะจอมทัพ เป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อป้องกันบ้านเมืองและขยายอำนาจ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้นำขับไล่พม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงเป็นแม่ทัพสำคัญมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ทรงทำสงครามกับพม่า สงครามครั้งใหญ่ คือ สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 แม่แต่ในสมัยที่ไทยเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยใช้นโยบายทางการทูตสร้างความสัมพันธ์กับราชสำนักต่างชาติเมื่อเผชิญกับความขัดแย้งกับชาติตะวันตก เช่น รัฐบาลไทยใช้การเจรจาทางการทูตทั้งการเจรจาในเมืองไทยและในฝรั่งเศส ในกรณี ร.ศ. 112 โดยขุนนางไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจรจากับฝรั่งด้วยพระองค์เอง เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440
นอกจากนี้ทรงผูกมิตรกับรัสเซีย เพื่อให้รัสเซียช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกับฝรั่งเศสอีกทางหนึ่ง และทรงยอมเสียดินแดนส่วนน้อยที่ไม่ใช่ดินแดนไทยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) และส่งทหารไทยไปยุโรปด้วย ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ยกเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่เคยทำกับชาติตะวันตกไว้ในเวลาต่อมา

2. การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชาติไทยด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
1) ด้านประเพณีและพิธีสำคัญต่าง ๆ พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์พระราชพิธีและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทยมาตั้งแต่อดีต ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีของรัฐ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระพระราชพิธีทางศาสนา เช่น พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ล้วนมีพระมหากษัตริย์ดป็นผู้นำในการปฏิบัติ
2) ด้านศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน การสังคายนาพระไตรปิฏก การแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย) ทรงแต่งไตรภูมิพระร่วงหรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งหนังสือเรื่องมหาชาติคำหลวง
นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีขันติธรรมทางศาสนา ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ราษฎร และทรงสนับสนุนศาสนาอื่น ๆ เช่น พระราชทานที่ดินให้สร้างเป็นโบสถ์คริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลามทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เป็นต้น
3) ด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ในอดีตราชสำนักเป็นศูนย์กลางประเพณีและวัฒนธรรม ชาวบ้านจะเรียนแบบการประพฤติปฏิบัติของชาววัง เช่น การแต่งกาย อาหารนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก เช่น การใช้ช้อนส้อม การนั่งโต๊ะ เก้าอี้ การแต่งกายแบบตะวันตก ทำให้วัฒนธรรมแบบใหม่แพร่หลายไปสู่ประชาชน
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ให้คนไทยมีความรักและจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ซึ่งกลายเป็นคำขวัญมาจนถึงปัจจุบัน ทรงนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม โดยให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม มีการใช้คำนำหน้าเด็ก สตรี บุรุษ ทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล 24 นาฬิกา และทรงประดิษฐ์ธงชาติแบบใหม่ เรียกว่า "ธงไตรรงค์" ให้เหมือนกับธงที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กัน

4) ด้านศิลปกรรม แบ่งออกเป็น
4.1) ด้านวรรณกรรม พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางการประพันธ์ เช่น รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า ไกลบ้าน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย เช่น เทศนาเสือป่า นิทานทองอิน ศกุนตลา มัทนะพาธา รวมทั้งทรงแปลบทละครของวิเลียม เชกสเปียร์ เช่น เวนิสวานิช โรมิโอและจูเลียต รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ทรงแปลเรื่องนายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต (Tito) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น
4.2) ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นมีอยู่มากมาย เช่น ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ ตามแบบศิลปะลพบุรี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชสมัยที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ทรงพระสำราญและต้อนรับแขกเมือง ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาราม และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างและซ่อมแซมพระราชวัง เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและเพิ่มการปิดทองเข้าไป รื้อประตูกำแพงวังเดิมเป็นประตูที่มียอดมณฑปเป็นไม้ เปลี่ยนเป็นประตูหอรบอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมที่ตั้งอยู่ทางปากอ่าวไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกและพระที่นั่งทั้งแบบตะวันตก และประยุกต์ระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นต้น
สำหรับงานประติมากรรมส่วนใหญ่จะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูป เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระศรีสรรเพชญ์ประดิษฐานไว้ในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม โดยทรงปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปบางประทานพร ภ.ป.ร. รวมทั้งทรงสร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์ คือ พระพิมพ์จิตรลดา เป็นต้น
ในด้านจิตรกรรม เช่น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเขียนเขียนสมุดภาพไตรภูมิ เพื่อให้คนทั้งหลายประกอบความดีละเว้นความชั่ว รัชกาลที่ 3 ทรงให้การส่งเสริมช่างฝีมือทุกชาติ งานจิตรกรรมในรัชสมัยนี้จึงมีอยู่หลายแห่งที่มีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสม เช่น ประตูพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) มีการประดับลวดลายที่แตกต่างไปจากเดิม คือ มีลายต้นไม้ ดอกไม้ นก แมลง และกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานของจีนปรากฏอยู่ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเขียนสีทอง ซึ่งดัดแปลงมาจากจิตรกรรมของไทยมีความโดดเด่น รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ ซึ่งมีทั้งแบบเหมือนจริง (Realism) แบบเอกซ์เพรสชันนิซึม (Expressionism) และแบบนามธรรม (Abstractionism)
4.3 ด้านนาฏกรรมและการดนตรี นาฏกรรมของไทยเริ่มมีแบบแผนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โดยได้รับอิทธิพลมาจากละครหลวงของเขมรและโปรดให้มีการเล่นดึกดำบรรพ์ (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นการแสดงโขน) จนกระทั่งถึงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดการเล่นละครอย่างมาก จึงทรงส่งเสริมการละครจนมีความเจริญรุ่งเรือง
ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำพม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำละครหญิงของเจ้านครเมื่อคราวเสด็จลงไปปราบชุมนุมเจ้านครเข้ามาเป็นครูฝึกร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมจากที่ต่าง ๆ ฝึกหัดเป็นละครหลวงขึ้นใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ นาฏกรรมได้รับการฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้รับการส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงฟื้นฟูท่ารำอย่างโบราณทั้งโขนและละคร และปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงส่งเสริมการละคร ซึ่งกลายเป็นต้นแบบทางการละาครที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ในด้านการดนตรี รัชกาลที่ 2 ทรงชำนาญการเล่นซอสามสาย ทรงใช้ซอที่พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ประพันธ์เพลง "บุหลันลอยเลื่อน" หรือ บุหลันลอยฟ้า" ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงประพันธ์เพลงราตรีประดับดาว และในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์เพลงพระราชนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น พรปีใหม่ ลมหนาว ใกล้รุ่ง สายฝน เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป ในประวัติศาสตร์ไทยมีประเด็นสำคัญหลายเรื่องที่น่าศึกษา เช่น ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทย สาเหตุและผลการปฏิรูป การปกครองบ้านเมือง การเลิกทาสและเลิกไพร่ การเสด็จประพาสยุโรปและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของสตรีไทย
นอกจากนี้อ ตลอดประวัติศาสตร์ไทยจะเห็นได้ว่าไทยเป็นชนชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6
อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1.สภาพการณ์ทางสังคม
สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บางส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง
สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ, ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป

2.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของตลาดโลก ชาวนาจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกมาขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่นๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน
สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าถึงแม้รายได้ของแผ่นดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แต่การที่ระบบการคลังของแผ่นดินยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ง่าย จังทรงจัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อการปรับปรุงและการจัดระบบภาษีให้ทันสมัยใน พ.ศ.2416 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2434 เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม่ พ.ศ.2442 จัดการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมให้ทันสมัยโดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนนสายต่างๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนส่งสินค้าและผลผลิต ซึ่งผลการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น 15 ล้านบาทใน พ.ศ.2435 เป็น 46 ล้านบาทใน พ.ศ.2447 โดยไม่ได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นอย่างใด ทำให้เงินกองคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มเป็น 32,000,000 บาทใน พ.ศ.2444
สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจการไฟฟ้า มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน พ.ศ. 2462 ทำให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติกำลังความสามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่าง ทำให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจโลกเริ่มตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมากเพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่งจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอนรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ไดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

3.สภาพการณ์ทางการเมือง
สภาพการณ์ทางการเมืองและการปกครองของไทยกำลังอยู่ในระยะปรับตัวเข้าสู่แบบแผนการปกครองของตะวันตก เห็นได้จากพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ภายหลังที่ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-7สมัยรัชกาลที่ 4 ยังไม่ได้ทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงการปกครองให้เป็นแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีแนวพระราชดำริโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยม เช่น ประกาศให้เจ้านายและข้าราชการเลือกตั้งตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตและตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งตุลาการที่ว่างลง แทนที่จะทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาตามพระราชอำนาจของพระองค์ และเปลี่ยนแปลงวิธีถวายน้ำพิพัฒน์สัตยา ด้วยการที่พระองค์ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการและทรงปฏิญาณความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงด้วย
สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ เพื่อให้การปกครองของไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก โดยจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ใน พ.ศ.2417 เพื่อถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและในเรื่องต่างๆ ที่พระองค์ของคำปรึกษาไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองที่สำคัญคือ การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่จำนวน 12 กระทรวงขึ้นแทนจตุสดมภ์ในส่วนกลางและจัดระบบการปกครองหัวเมืองต่างๆในรูปมณฑลเทศาภิบาลในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2435 เป็นต้นมา นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มทดลองการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูป สุขาภิบาล จัดตั้ง รัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ใน พ.ศ.2437 ตามแบบอย่างตะวันตก
สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้ง ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต พ.ศ.2461 เพื่อทดลองฝึกฝนให้บรรดาข้าราชการได้ทดลองปกครองตนเองในนครดุสิตธานี เหมือนกับการจดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “เทศบาล” นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่จากที่มีอยู่เดิม และยุบเลิกกระทรวงบางกระทรวงเพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นและทรงปรับปรุงการบริหารงานของมณฑลด้วยการยุบรวมมณฑลเป็นหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มณฑลภาค เพื่อให้การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2475) ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัย และต้องเตรียมการให้พร้อมเพิ่มมิให้เกิดความผิพลาดได้ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พ.ศ.2468 และทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางระเบียบสำหรับจัดตั้งสภากรรมการองคนตรี เพื่อเป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วย
นอกจากนี้ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ด้วยการแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล แต่ไม่มีโอกาสได้ประกาศใช้ เพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นก่อน นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ตามกระแสพระราชดำริใน พ.ศ.2474 มีสาระสำคัญดังนี้
อำนาจนิติบัญญัติจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม โดยมีสมาชิก 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเลือกตั้งจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า30 ปี มีพื้นฐานความรู้อ่านออกเขียนได้ ส่วนอำนาจบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากอภิรัฐมนตรีมีความเห็นประชาชนยังไม่พร้อม ดังนั้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญควรระงับไว้ชั่วคราว จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนจึงมิได้มีการประกาศใช้แต่อย่างใด

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

- สมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้

ก. การปฏิรูปการปกครอง
1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไปรวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)

2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)

สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก

ข. ตั้งสภาที่ปรึกษา
รัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ
1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์
2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป

ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย
การเสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบการปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน



- สมัยรัชกาลที่ 6
1. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน
2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต
3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง




สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จงตอบคำถามต่อไปนี้




การเศรษฐกิจ
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ
2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้
2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง
2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา
2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ
สนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนดเวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ

3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น
4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา



สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างๆ ของแผ่นดิน
2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบร้อย
4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้างที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน
5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล
6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)
7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ


- สมัยรัชกาลที่ 6

1.ตั้งธนาคารออมสิน
2.ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
3.ตั้งกรมสรรพากรและกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลงเนื่องจากสาเหตุการเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1


- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
1.ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1
2.รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้
2.1 ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก
2.2 ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม
2.3 ปลดข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย


2. การสังคมและวัฒนธรรม
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา
2. ทรงตระหนักถึงสถานการณ์ของประเทศไทยว่ากำลังถูกคุกคามจากชาติตะวันตก จึงดำริว่าไทยควรปรับปรุงขนบธรรมเนียมให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้แก่
ก. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า
ข. โปรดให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธีด้วย
ค. ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทรงอนุญาตให้ราษฎรรับเสด็จได้โดยสะดวก
ง. ฟื้นฟูประเพณีตีกลองร้องฎีกา (มีกลองวินิจฉัยเภรีแขวนไว้ใครเดือดร้อนต้องการยื่นฎีกาให้มาตีกลอง)
- สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
2. ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ทูตานุทูตยืนเฝ้าถวายคำนับ
3. ประเพณีการสืบสันตติวงศ์
4. ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ทรงตั้งตำแหน่ง สยามมกุฏราชกุมารขึ้นแทน มกุฏราชกุมารพระองค์แรกคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
5. ปรับปรุงประเพณีไว้ผมทรงมหาดไทย โดยให้ชายไทยในพระราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เป็นตัดผมยาวทรงดอกกระทุ่ม
6. ใช้แบบเสื้อราชประแตนและสวมหมวกอย่างยุโรปแต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่
7. หลังจากกลับจากประพาสยุโรป สตรีไทยได้หันกลับไปนิยมแบบเสื้อของอังกฤษคือคอตั้งแขนยาว
8. ตอนปลายรัชกาลสตรีไทยนิยมนุ่งโจงกระเบน ชายนุ่งกางเกงแบบตะวันตก
- สมัยรัชกาลที่ 6
1. ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง
2. กำหนดคำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย และเด็กหญิง
3. ออกพระราชบัญญัตินามสกุล
4 . ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศก
5. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างที่มีพื้นธงสีแดงล้วนและมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็น ธงไตรรงค์
6. เปลี่ยนการนับเวลาทางราชการโดยใช้เวลามาตรฐานตามเวลากรีนิชเป็นหลัก
- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 6

เวลา ความสำคัญของเวลา

ความสำคัญของเวลากับช่วงสมัยทางประวัติศาสตร์
วันเวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขิ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

นักประวัติศาสตร์หรือผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งศึกษาเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตนั้น เมื่อศึกษาแล้วก็จะบอกเล่าเรื่องราวที่ตนศึกษาออกมา การบอกเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาต่าง ๆ ต้องใช้คำที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เช่น ศักราช วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที ยุค สมัย เพื่อให้รู้ว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อนเกิดหลัง และเหตุการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับเวลาอย่างยิ่ง